วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความซื่อสัตย์

 1. ทำไมต้องมาพูดกันเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากสภาพปัจจุบันมีปัญหามากมายอาทิเช่นธุรกิจนอกกฎหมาย การคอรัปชั่น การพนัน โสเภณี ฯลฯ เหตุเกิดเพราะความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้าและประชาชนกล่าวได้ว่า ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้า และ- ประชาชน กล่าวได้ว่า ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นต้นตอ และรากเหง้าของปัญหาหลาย ๆ อย่าง
  2. เราจะเริ่มปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตเมื่อไร นิสัยความซื่อสัตย์สุจริตสร้างตั้งแต่แรกเกิดและเริ่มก่อตัวขึ้น จากความรักความอบอุ่นที่พ่อแม่ ญาติพี่น้องได้แสดงออกแก่เด็ก พ่อแม่จึงเป็นต้นแบบที่สำคัญในวัยเด็ก
   3. การปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริตเป็นหน้าที่ของใคร องค์กรหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญคือ
    ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง โรงเรียนและสถานศึกษา
4. การเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต ผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคงเป็นของโรงเรียนและสถานศึกษา ซึ่งมีหน้าที่หลักคือ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความงอกงามในทุก ๆ ด้านอย่างมีดุลยภาพ

ข้อคิดที่ได้รับ หัวใจชายหนุ่ม

ข้อคิดที่ได้รับ
     อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ เก่าคร่ำครึ เพราะวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยนี้แลจึงสามารถจรรโลงประเทศให้อยู่ได้มาสืบทุกวันน
     
การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย เช่นกรณีของประพันธ์ และแม่อุไรที่รักเร็วใจเร็ว ทำให้ความรักนั้นจบลงในเวลาอันสั้น การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย ดังแม่อุไรที่ปล่อยตัวได้เสียกับประพันธ์ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายนำไปสู่การหย่าร้างกันวันข้างหน้า  คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม ดังเช่นประพันธ์ เขาไม่ชอบการใช้เส้นสาย แต่ไม่สามารถหางานได้ด้วยตนเอง จึงต้องยอมรับงานที่ผู้ใหญ่ฝากฝังให้ แต่ก็ได้ใช้ความสามารถของตนเองทำให้มีความก้าวหน้าในราชการ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ในที่สุด

จุดประสงค์ในการแต่ง หัวใจชายหนุ่ม

จุดประสงค์ในการแต่ง
1บอกความเป็นมาและประวัติของผู้แต่งเรื่องหัวใจชายหนุ่มได้
2อธิบายลักษณะรูปแบบของการเขียนจดหมายได้อย่างเข้าใจ
3ได้รู้ความหมายของแต่จะจดหมายมีข้อคิดที่มีคุณค่าอย่างไรบ้าง
4ได้เรียนรู้ความหมายของศัพท์โบราณ

ลักษณะคำประพันธ์ หัวใจชายหนุ่ม

ลักษณะคำประพันธ์
หัวใจชายหนุ่ม  เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย
๑)หัวจดหมาย   ตั้งแต่ฉบับที่ ๑  วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖-     จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖-    จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.  ไว้
 )คำขึ้นต้นจดหมาย   ทั้ง ๑๘ ฉบับ  ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ
ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก

๓)คำลงท้าย  จะใช้คำว่า
จากเพื่อน......... แต่เพื่อน.......  แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ ๑๐) มีเพียง ๙ ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
๔)การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ ๑๔ เป็นต้นไป ใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ บริบาลบรมศักดิ์  โดยตลอด  แต่ฉบับที่ ๑ ๑๓ ใช้ชื่อ ประพันธ์
๕)ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ ๑๔ เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

ความเป็นมา หัวใจชายหนุ่ม

ความเป็นมา
หัวใจชายหนุ่มเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้พระนามแฝงว่า ..รามจิต.. ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับระยะเวลาในจดหมาย ๑ ปี๗เดือน เป็นผุ้ที่ถ่ายทอดสังคมแบบไทยกับตะวันตกที่ผสมผสานกัน และทำให้ผู้ที่อ่านได้ข่อคิดและความบันเทิงมากมาย

ประวัติผู้แต่ง หัวใจชายหนุ่ม

ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์มีความปรีชาสามารถด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ พระองค์ทรงประราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้ยกย่องว่าเป็นยอดวรรณคดีทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และ พ..๒๕๑๕ได้รับยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหชาติให้ทรงเป็น๑ใน๕ของนักปราชญ์ไทย